ภาคผนวก
ประวัติคอมพิวเตอร์

 

วิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์

          
คอมพิวเตอร์นั้นมีวิวัฒนาการมาจากเครื่องคำนวณ ถ้าจะกล่าวถึงวิวัฒนาการของการคำนวณ ก็คงจะกล่าวได้ว่า มีมาตั้งแต่สมัยโบราณที่มนุษย์ใช้นิ้วมือในการบอกจำนวนเลข และใช้คิดคำนวณ ต่อมาชาวกรีกรู้จักการใช้ขีดเขียนบนพื้นดิน เป็นรูปเส้นตรงแนวตั้งและแนวนอน ใช้ลูกหิน เรียงกันเป็นแถว แทนเลขในแต่ละหลัก และในที่สุดรู้จักนำเชือก มาร้อยลูกหินที่เรียงกัน แบบลูกคิด
          
ในช่วงเวลา 3000 ปีก่อนคริสตศักราช ชาวจีนและชาวญี่ปุ่นได้นำมาดัดแปลงเป็นลูกคิด โดยใช้วัสดุอื่น แทนลูกหินและ ใช้โลหะแทนเชือก ทั้งนี้เพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวก และปัจจุบันลูกคิดก็ยังคงเป็นที่นิยมใช้กันอยู่ และในปี ค.. 1600 จอห์น แนบเปีย (John Napier) ได้ออกแบบเครื่องช่วยคำนวณในการคูณขึ้นเรียกว่า Napier's Bones และในต้นศตวรรษที่ 17 วิลเลียม ออตเทรด (William Oughtred) ได้ประดิษฐ์ สไลด์ รูล (Slide Rule) ขึ้นใช้ช่วยในการคูณ

.. 1642

เบลส ปาสคาล (Blaise Pascal) นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ได้สร้างเครื่องบวกเลขโดยใช้เฟืองทด ที่เรียกว่า Pascaline

.. 1694

กอตฟริต ไลบนิส (Gotfried Liebnitz) นักคณิตศาสตร์ชาวเยอรมันได้สร้างเครื่องคำนวณที่ใช้
สำหรับการคูณโดยใช้หลักการบวกซ้ำๆ กัน

.. 1801

โจเซฟ มาเรีย แจคการ์ด (Joseph-Marie Jacquard) ได้พัฒนาเครื่องทอผ้าของเขา โดยได้นำเอาบัตร เจาะรูไปควบคุมการให้ลาย และการพิมพ์สีลงบนผ้า ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้น ระบบไบนารี หรือระบบเลขฐาน 2 เป็นครั้งแรก

.. 1812

ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้สร้างเครื่องคำนวณผลต่าง
(Difference Engine)
ซึ่งใช้สำหรับการคำนวณและพิมพ์ตารางทางคณิตศาสตร์ เขาใฝ่ฝันที่จะสร้าง เครื่องคำนวณวิเคราะห์ (Analytical Engine) ซึ่งเป็นเครื่องคำนวณที่รับข้อมูลซึ่งบันทึกบนบัตร และให้ผลลัพธ์ในรูปสิ่งพิมพ์ แต่ แบบเบจทำไม่สำเร็จ เพราะขาดทุนทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ลักษณะของ เครื่องคำนวณวิเคราะห์เหมือนกับลักษณะคอมพิวเตอร์ที่ใช้กันในปัจจุบัน เราจึงยกย่องใช้ แบบเบจ ว่าเป็นบิดาของคอมพิวเตอร์

.. 1816 - 1852

เลดี้เอดา ออกุสตา เลฟเลซ (Lady Ada Augusta Lovelace) ผู้ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนเรื่องวิธีการใช้เครื่องคำนวณวิเคราะห์เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาคณิตศาสตร์ชั้นสูงได้ และยังเสนอ ให้ใช้คำสั่งในบัตรเจาะรู (Punched Card) แทนการใช้คำสั่งที่ซ้ำๆ กันบนเครื่องนี้ ในปี ค.. 1843 เอดาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) คนแรกของโลก

.. 1890

         จากการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ในปี ค.. 1789 ซึ่งในมาตรา 1 วรรค 2 กำหนดไว้ว่า ให้จำนวนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นสัดส่วนกับจำนวนประชากรในรัฐต่างๆ ดังนั้นเพื่อให้ทราบถึงจำนวน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ถูกต้อง จึงต้องมีการทำสำมะโนประชากร ของประเทศทุกๆ 10 ปี ต่อมาในระหว่างปี ค.. 1790 ถึง .. 1880 จำนวนประชากรของสหรัฐ เพิ่มจาก 4 ล้านคน เป็นเกือบ 50 ล้านคน การทำสำมะโนประชากร ต้องใช้เวลา ในการคำนวณถึง 7 ปี จึงเสร็จสิ้นในขณะเดียวกันอัตราการเพิ่มของประชากรก็มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นเรื่อยๆ
ดังนั้นจึงคาดว่า การทำสำมะโนประชากรในปี ค.. 1890 จะต้องใช้เวลามากกว่า 10 ปี ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ ผลที่ได้ออกมา จะไม่ทันเวลาที่ต้องการใช้ จึงได้มีการคิดหาวิธีการ เพื่อให้สามารถ ทำสำมะโนประชากร ได้เร็วขึ้น
          
ดร.เฮอร์แมน ฮอลเลอริท (Dr. Herman Hollerith) ได้นำเอาระบบบัตรเจาะรูมาใช้ โดยบันทึกข้อมูลลงบนบัตร โดยพัฒนามาจากเครื่องทอผ้าของโจเซฟ มาเรีย แจคการ์ด ฮอลเลอริท ได้สร้างรหัสสำหรับบัตรเจาะรู เพื่อนำข้อมูลเจาะลงบนบัตร และนำไปให้เครื่องคอมพิวเตอร์อ่าน โดยเครื่องนี้สามารถอ่านบัตรได้ 250 ใบต่อนาที และให้ผลลัพธ์ซึ่งปรากฏว่า การประมวลผลสำหรับ การทำสำมะโนประชากรในครั้งนั้น สามารถทำได้เสร็จ ภายในระยะเวลาประมาณ 2 ปี ต่อมาในปี ค.. 1896 เขาได้ตั้งบริษัท The Tabulating Machine Company เพื่อประมวลผลข้อมูลด้วยบัตรขึ้น ต่อมาบริษัทนี้ได้ร่วมหุ้นกับบริษัทอื่นๆ จัดตั้งเป็นบริษัท International Business Machines Corporation
         
ประมาณปี ค.. 1935 ได้มีการสร้างและการใช้เครื่องจักรที่เรียกว่า Tabulating Machine เพื่อทำการประมวลผลข้อมูลที่เจาะบนบัตร โดยประกอบไปด้วยเครื่องเจาะบัตร (Punching Machine) เครื่องตรวจสอบบัตร (Verifier) เครื่องแยกประเภท บัตร (Sorter) เครื่องรวมบัตร (Collator) และเครื่องจักรลงบัญชี (Accounting Machine)
         
ในปี ค.. 1936 รัฐบาลของประเทศสหรัฐได้สร้างระบบประกันสังคม โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถคุมบัญชีได้ถึง 30 ล้านบัญชี ต่อมางานประกันสังคมได้ขยายตัวมากขึ้น อย่างไรก็ดี ระบบงานเดิม ก็ยังสามารถรับงานโดยคุมบัญชีถึง 125 ล้านบัญชี และในระยะแรกๆ การใช้คอมพิวเตอร์ ต้องอาศัยการบันทึกคำสั่งและข้อมูลลงบนบัตรเจาะรู ต่อมาได้มีการใช้เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) และจานแม่เหล็ก (Magnetic Disk) ซึ่งช่วยให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้นมาก

.. 1942

ดอกเตอร์ จอห์น วี อาตานาซอฟฟ์ (Dr. John V. Atanasoff) ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย Lowa ได้ร่วมมือกับนักศึกษาของเขาชื่อ Clifford E. Berry สร้างเครื่องคำนวณทางคณิตศาสตร์ ที่มีชื่อว่า ABC หรือ Atanasoff Berry Computer โดยใช้หลอดสูญญากาศ ระบบเลขฐาน และมีหน่วยความจำและวงจรทางตรรก ซึ่งรูปแบบนี้ได้เป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

ต่อมาในปี ..1944

ศาสตราจารย์โฮเวิร์ด เอซ อายเคน (Prof. Howard H. Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับบริษัท IBM ได้สร้างคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอัตโนมัติได้สำเร็จสมบูรณ์เป็นเครื่องแรก ชื่อ ASCC (Automatic Sequence Controlled Calculator) หรือที่เรียกว่า Mark I ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ชนิดกลไกอิเล็กทรอนิกส์ (Mechanical Electronic Computer) โดยเครื่องนี้สามารถ ทำงานอัตโนมัติ ตลอดทั้งเครื่อง จึงถือว่า Mark I นี้เป็นเครื่องคำนวณอัตโนมัติ เครื่องแรกของโลก
          
ซึ่งทั้งหมดนั้น เป็นวิวัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาเครื่องจักรกล ที่สามารถเรียกได้ว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงต่อไป

ในปี ค..1946

ศาสตราจารย์ เจ เพรสเพอร์ เอคเกิร์ท (J. Presper Eckert) และศาสตราจารย์ จอห์น ดับบลิว มอชลี (John W. Mauchly) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนน์ซิลวาเนีย ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ ชนิดอิเล็คทรอนิกส์ (Electronic Computer) เครื่องแรกขึ้น ชื่อ Electronic Numerical Intergrator And Calculator หรือย่อว่า ENIAC ประกอบด้วยหลอดสูญญากาศ และสามารถทำงานได้เร็วกว่า Mark I เกือบ 1,000 เท่า และในปี ค.. 1951 เอคเกิร์ท และมอชลี ได้ปรับปรุงเครื่อง ENIAC โดยสร้างเครื่อง UNIVAC I (Universal Automatic Computer) เพื่อเป็นการค้าเครื่องแรกของโลก เครื่องนี้ได้รับการติดตั้งเพื่อใช้ในงานสำมะโนประชากร ในสหรัฐอเมริกาในเดือนเมษายน .. 1951 และ UNIVAC I นี้เองถือได้ว่าเป็นการเริ่มของยุคแรกของคอมพิวเตอร์
          
ต่อมาได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์โดยเปลี่ยนจากการใช้หลอดสูญญากาศเป็นวัสดุอื่นๆ ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และยังมีขนาดเล็ก วัสดุเหล่านี้ได้แก่ทรานซิสเตอร์ วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) วงจรรวมหรือไอซี (Intergrated Circuit : IC) เป็นต้น ซึ่งจะพัฒนาเป็นยุคต่อๆ ไปของเครื่องคอมพิวเตอร์

 

ยุคของคอมพิวเตอร์ (Generations of Computer)

          
ถึงแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มใช้มาไม่นานนัก แต่เทคนิคเกี่ยวกับการผลิต และการใช้คอมพิวเตอร์ ได้เปลี่ยนแปลงไป อย่างรวดเร็ว จึงทำให้สามารถจำแนกคอมพิวเตอร์ออกเป็นยุคต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. ยุคที่ 1 (First Generation) ระหว่างปี ค.. 1951-1958

          
เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 นี้ ใช้เทคโนโลยีเป็นวงจรเป็น หลอดสูญญากาศ (Vacuum Tube) ซึ่งใช้
พลังงานมากความร้อนสูง จึงทำให้หลอดแตกง่ายและยากต่อการบำรุงรักษา จึงจำเป็นต้องอยู่ในห้องปรับอากาศเพื่อ
ช่วยระบายความร้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ในสมัยนั้นจึงมีขนาดใหญ่ มีหน่วยความเร็วในการทำงานเป็นวินาที (Second) ใช้สื่อประเภท Magetic Drum มาใช้มี ความจุต่ำ อุปกรณ์ Input และ Output เป็นบัตรเจาะรู ตัวอย่างเครื่องเครื่องในยุคนี้ได้แก่เครื่อง ENIAC, UNIVAC 1, IBM 650, IBM 701, NCR 102 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับงานด้านวิทยาศาสตร์ และสำหรับซอฟท์แวร์ (Software) ที่ใช้นั้นจะใช้ภาษาเครื่องจักร (Machine Language) ซึ่งเป็นภาษาในระดับต่ำ ซึ่งเป็นตัวเลขล้วน ๆ และมีลักษณะเฉพาะตัว ไม่สามารถใช้กับคอมพิวเตอร์ ที่ผลิตต่างบริษัทกัน ซึ่งภาษาเครื่องจะสั่งให้เครื่อง ทำงานทันที
          
ข้อเสียของภาษาเครื่องคือ ยากต่อการจำความหมายและมักจะใช้ผิดพลาดเพราะมีแค่เลข 0 และ 1 หรือการใช้สัญญาณเปิดและปิดของหลอดสูญญากาศ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นภาษาสัญลักษณ์ (Symbolic Language) ซึ่งภาษาสัญลักษณ์ที่ใช้กันนั้นคือภาษาแอสแซมบลี (Assembly Language) ซึ่งนิยมใช้ในยุคที่ 2

2. ยุคที่ 2 (Second Generation) ระหว่างปี ค..1958-1964

          
คอมพิวเตอร์ยุคนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก ใช้วงจรทรานซิสเตอร์ (Transistor Circuit) ซึ่งทำงาน
เช่นเดียวกับหลอดไฟสูญญากาศ แต่มีขนาดเล็กกว่า ถูกกว่า และใช้กำลังในการทำงานน้อยกว่า ดังนั้นจึงไม่ก่อให้เกิด ความร้อนในการทำงาน ระยะที่สอง มีการใช้วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic Core) เป็นหน่วยความจำภายในเครื่อง ซึ่ง
ทำให้การบันทึกข้อมูลมีประสิทธิภาพสูงขึ้นคอมพิวเตอร์ในระยะนี้มีเครื่องรับข้อมูล และแสดงข้อมูลเพิ่มขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาด และลักษณะกะทัดรัดใช้งานได้คล่องและทำงานได้เร็วขึ้น ต้นทุน ในการผลิตเครื่องต่ำ สื่อที่ใช้ในการจัดเก็บ เป็นเทปแม่เหล็ก มีความเร็วในการทำงานมีหน่วยเป็นมิลลิวินาที 1 Millisecond เท่ากับ 1/103 วินาที เครื่องคอมพิวเตอร์ยุคนี้ได้แก่เครื่อง IBM 1620 , IBM 1401 , CD4 1604 , NCR 315 โดยที่ยุคนี้จะมีการ นำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในงานธุรกิจแล้ว
          
ภาษาที่ใช้ในยุคนี้เป็นภาษาที่เป็นสัญลักษณ์ซึ่งง่ายกว่าภาษาเครื่อง เช่น การใช้คำสั่งในการบวกใช้ ADD
หรือ MUL แทนการคูณ ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถสั่งคอมพิวเตอร์ทำงานได้สะดวกขึ้น เช่น ภาษาแอสแซมบลี และเริ่มใช้ภาษาระดับสูง (High-level Language) คือ ภาษา FORTRAN, COBOL, BASIC และ PL/1

3. ยุคที่ 3 (Third Generation) ระหว่างปี ค..1964-1974

          
คอมพิวเตอร์ใช้แผงวงจรรวม (Intergrated Circuit) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกบรรจุในแผ่นซิลิกอน เรียกว่า ชิป (Chip) ที่สามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัวทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลง ความเร็วในการประมวลผลสูง มีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ และมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้จานแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำสำรอง ใช้มีหน่วยเป็นไมโครเซคคั่น (Microsecond : 1/10 6 วินาที)
         
ระบบการแบ่งกันใช้เวลา (Time Sharing System) ของการใช้คอมพิวเตอร์ระหว่างผู้ใช้ หรือการประยุกต์
คอมพิวเตอร์ใช้กับงานด้านออนไลน์ คืองานที่มีการเรียกใช้ข้อมูลโดยตรงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ผ่านทาง จอภาพ ก็เริ่มมีในยุคนี้ ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ได้แก่เครื่อง IBM 360 UNIVAC 9400 CDC 320 CDC 3300 และ BURROUGH 9500
          
สำหรับภาษาที่ใช้จะใช้ภาษาระดับสูงของคอมพิวเตอร์เป็นส่วนใหญ่ เช่น ForTRAN COBOL Pascal
C
และ RPG และเริ่มมีการนำระบบปฏิบัติการ (Operating System) มาใช้ในการควบคุม การทำงานของ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปขึ้นใช้ในยุคนี้ด้วย

4. ยุคที่ 4 (Fourth Generation) ปี ค..1974

          
คอมพิวเตอร์ยุคนี้มีการใช้หน่วยประมวลผลที่เป็นแผงวงจรรวมขนาดใหญ่ (Large Scale Integrated :
LSI)
ซึ่งทำด้วยสารกึ่งตัวนำ (Semiconductor) ภายในบรรจุทรานซิสเตอร์ซึ่งย่อขนาดเล็กลงหลายร้อยตัว และวงจรในหน่วยความจำในเครื่องคอมพิวเตอร์ ต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นแผงวงจรรวมขนาดใหญ่มาก (Very Large Scale Integrated : VLSI) ปัจจุบันคือไมโครโพรเซสเซอร์ หรือที่เรียกกันว่าไมโครโพรเซสเซอร์ชิป (Microprocessor Chip) ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายล้านตัว ทำให้มีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เช่น VLSI 80386, 80486 ของ Intel ความเร็วในการทำงานจะมีหน่วยเป็นนาโนเซคคั่น (Nanosecond : 1/109 วินาที) หน่วยความจำสำรองที่ใช้ เป็นหน่วยหน่วยความจำขนาดใหญ่ มีความเร็วในการอ่าน และบันทึกข้อมูลสูง เช่น จานบันทึกแบบแข็ง (Hard Disk) ตัวอย่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ IBM-PC, IBM 370 , IBM 3033 , UNIVAC 9700
          
ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้จะใช้ภาษาในยุคที่ 3 ภาษา BASIC และมีภาษาใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายภาษา มีการสร้างงาน ทางด้านกราฟิก (Graphic) และการสื่อสาร (Communication) นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา ภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง หรือ เอสคิวแอล (Structured Query Language : SQL) ซึ่งทำให้ผู้ใช้ยังสามารถทำการสอบถามข้อมูลง่ายๆ จากฐานข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางคอมพิวเตอร์มากนัก

5. ยุคที่ 5 (Fifth Generation) ยุคปัจจุบัน

          
นอกจากเป็นยุคที่มีการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer) ในหน่วยงานเพื่อทำการทดลองทาง
วิทยาศาสตร์ต่างๆ และการวิจัยขั้นสูง มีการทำงานในระบบหลายตัวประมวลผล (Multiprocessing System) ซึ่งหน่วยประมวลผลสามารถประมวลผลงานได้พร้อม ๆ กันหลายคำสั่ง และมีการทำงานแบบหลายภารกิจ (Multitasking) คือการทำงานมากกว่าหนึ่งโปรแกรมในเวลาเดียวกัน ซึ่งนำไปสู่การทำงานของสื่อหลายแบบ (Multimidia) ซึ่งมีการใช้อุปกรณ์หลายๆ ชนิดมาทำงานผสมผสานกันเพื่อก่อให้เกิดการทำงานที่น่าสนใจเช่น เสียง ใช้ไมโครโฟน และลำโพง วีดีโอภาพเคลื่อนไหว กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ เพื่อใช้ภาพนิ่งเป็นต้น ความเร็วในการประมวลผลมีหน่วยเป็น พิคโคเซคคั่น ( (Picosecond : 1/1012 วินาที) ตัวอย่างของชิป ได้แก่ Pentium ของ Intel และ Power PC ของ Macintosh
          
ภาษาที่ใช้เป็นประเภทภาษาเชิงวัตถุ หรือโอโอพี (Object Oriented Programming :OOP) เช่น Visual
BASIC Visual C Delphi
และ JAVA เป็นต้น นอกจากนี้ยังค้นคิดภาษาธรรมชาติ (Natural Language) สำหรับการพัฒนาเป็นการใช้ให้ผู้ใช้ ใช้งานได้ง่ายขึ้น
          
มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ ในลักษณะของปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ (Artificial Intelligence : AI) เพื่อการพัฒนาให้ ระบบคอมพิวเตอร์สามารถคิดได้และมีความเฉลียวฉลาดเทียบเท่ามนุษย์ โดยมีการสร้างระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems) ซึ่งเป็นระบบที่รวบรวมความรู้เฉพาะด้านไว้ด้วยกัน มีการสร้างระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือ ดีเอสเอส (Decision Support Systems : DSS) นอกจากนี้ยังมีการสร้างหุ่นยนต์ (Robot) เพื่อใช้ในการทำงาน แทนมนุษย์ ในกรณีที่ มีการทำงานที่เสี่ยง มีการสร้างซอฟต์แวร์ที่เป็นความจริงเสมือน (Virtual Reality) ซึ่งผู้ใช้งานจะรู้สึกเหมือนว่า ถูกล้อมรอบด้วยสภาพจริง หรือเป็นภาพ 3 มิติ

 

ตารางที่ ก.1 แสดงการวิวัฒนาการของไมโครคอมพิวเตอร์

ไมโครโพรเซสเซอร์
ชิป

โรงงานผลิต

ความยาวคำ
(Word Length)

ความกว้างบัสข้อมูล
(Data Bus Width)

Clock Speed
(MHz)

ใช้ในเครื่อง

80286

Intel

16

16

8  - 28

IBM AT

80386

Intel

32

32

16  - 33

IBM PS/2

80486

Intel

32

32

20  - 100

 PC, Workstation

68020

Motorola

32

32

12  - 33

Macintosh II

68030

Motorola

32

32

16  - 50 

Macintosh IIX,  IIcx

68040

Motorola

32

32

25  - 40

Mac Quadra

Pentium

Intel

32

64

50  - 100

 PC, Workstation

Pentium II

Intel

64

64

133 - 400

 PC, Workstation

Pentium III

Intel

64

64

450 - 933

 PC, Workstation

Power PC  601

IBM, Motorola

32

64

50  - 100

PC, Macintosh, Workstation

Power PC  602

IBM, Motorola

64

128

133

PC, Macintosh, Workstation

ตารางที่ ก.2  แสดงเทคโนโลยีของการพัฒนาคอมพิวเตอร์

ปี ค..

เทคโนโลยีของการพัฒนาคอมพิวเตอร์

1942

กำเนิดของเครื่อง ABC ที่ใช้หลอดสูญญากาศ  หน่วยความจำ และวงจรทางตรรก ซึ่งเป็นต้นแบบของ คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

1944

สาธิตการใช้ Mark  I จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด

1946

สร้างเครื่อง ENIAC  ที่ใช้หลอดสูญญากาศ  จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐเพนน์ซิลวาเนีย

1951

สร้างเครื่อง UNIVAC I  เพื่อใช้ในงานสำมะโนประชากร เป็นการเริ่มของยุคแรกของคอมพิวเตอร์

1953

IBM 701  ที่ใช้เทคโนโลยี Vacuum Tube

1954

IBM 650  ที่ใช้เทคโนโลยี Vacuum Tube

1959

เครื่อง Honneywell 400 เป็นจุดเริ่มของยุคที่ 2 ใช้เทคโนโลยี Transistor Circuit

1963

เครื่อง PDP-8 เป็นมินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก ที่ใช้เทคโนโลยี Transistor Circuit

1964

IBM 360 เป็นจุดเริ่มของยุคที่ 3  ซึ่งใช้เทคโนโลยี Intergrated Circuit (360 มาจาก 360 องศา คือความสามารถในการประมวลผลได้รอบด้าน )

1964

Dr. Thomas Kurtz และ Dr. John Kemeny ได้พัฒนาภาษา BASIC ที่สามารถประมวลผลได้ทั้งเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรมคอมพิวเตอร์

1971

ความสำเร็จของการสร้าง Large Scale Intergratred Circuit ที่ชื่อว่า Intel 4044  โดย Ted Hoff  ซึ่งเป็นจุดเริ่มของยุคที่ 4 

1972

บริษัท Intel ได้เปิดตัวไมโครโปรเซสเซอร์ตระกูล 8000

1974

บริษัท Intel ได้ผลิต Microprocessor ออกมาจำหน่ายเพื่อการค้า

1975

หลังจากความสำเร็จของการเขียนภาษา BASIC เพื่อสร้างเป็นซอฟท์แวร์ต่างๆ   Bill Gates และ Paul Allen ได้ร่วมกันก่อตั้งบริษัท Microsoft Corporation ซึ่งในปัจจุบันถือว่า เป็นบริษัทที่มียอดจำหน่าย ซอฟต์แวร์ที่สูงที่สุดในโลก และ Bill Gates เองถือได้ว่าเป็นคนที่รวยที่สุดในโลกคนหนึ่ง

1975

Altair 8800 ไมโครคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกปรากฏต่อสายตาชาวโลก

1977

Apple II  Computer ไมโครคอมพิวเตอร์ที่ได้ผลิตออกจำหน่ายและประสบความสำเร็จทางการค้า

1981

บริษัท IBM ได้ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อรุ่นว่า Personal Computer และประสบความสำเร็จ ทางการค้าอย่างมาก โดย IBM-PC มียอดขายถึง 835,000 เครื่องในปี 1982 และ IBM-PC นี้เองได้เป็นต้นแบบของ ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

1982

Mitchell Kapor ได้พัฒนา Lotus 1-2-3 ซึ่งถือว่าเป็นซอฟท์แวร์สำเร็จรูปที่ประสบผลทางการค้าอย่างมาก

1984

เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ Macintosh ที่เป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัทเดียวกับเครื่อง Apple ได้ออกเสนอรูปแบบการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า GUI (Graphical User Interfaces) ที่มีลักษณะใช้งานง่าย ใช้สะดวก (User Friendly) ที่เป็นต้นแบบของระบบ การใช้ Icons และ Windows  ในปัจจุบัน

1984

IBM-AT  8  MHz  80286  16-bit Computer ได้นำออกจำหน่าย

1985

บริษัท Microsoft ได้แนะนำระบบ Windows บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์และเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน 

1988

คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คน้ำหนัก 4.4 ปอนด์ที่ผลิตโดยบริษัท NEC ได้ผลิตออกจำหน่ายและ Microprocessor ตัวแรกที่มี Transistor ล้านตัวโดยเทคโนโลยี RISC (Reduced Instruction Set Computer) ได้ถูกผลิตขึ้น

1989

ได้มีการผลิตซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์เพื่อการใช้การใช้สื่อหลายแบบหรือมัลติมีเดีย (Multimedia)

1990

80486  Computers ได้ออกวางตลาดเพื่อการใช้ระบบมัลติมีเดียได้อย่างสะดวก

1995

ชิป Power PC ที่สามารถทำงานได้บนเครื่อง Macintosh และ IBM-PC ได้ออกสู่ตลาดและปลายปี ชิป Pentium ที่ใช้บน IBM-PC ได้ออกสู่ตลาดเช่นกัน โดยที่ชิป Pentium ได้กลายมาเป็นผู้นำของตลาด จนถึงปัจจุบัน  และมีการประกาศตัวเพื่อการใช้งานของ Windows 95

1997

การออกตัวของ Windows 97 และ ชิป Pentium II ที่เป็น  MMX (Multimedia Extension)  ซึ่งทั้ง 2 อย่างมีการใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน

1999

Intel  ประกาศตัว ชิป Pentium III  ออกสู่ตลาด

 

วิวัฒนาการการใช้คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย

          
ในประเทศไทยการใช้คอมพิวเตอร์เริ่มตั้งแต่ปี .. 2506 ได้เริ่มใช้สำหรับการศึกษา การวิจัย โดยใช้เครื่อง IBM 1620 ซึ่งติดตั้งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและการทำสำมะโนประชากรโดยใช้เครื่อง IBM 1401 ซึ่งติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ
          
.. 2507 มีการเริ่มนำคอมพิวเตอร์เข้าไปใช้กับธุรกิจขนาดใหญ่ในประเทศไทย คือ บริษัทปูนซิเมนต์ไทย และ ธนาคารกรุงเทพจำกัด พ.. 2517 ตลาดหลักทรัพย์ นำคอมพิวเตอร์ เข้าไปช่วยงานการซื้อขาย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้มีการ นำคอมพิวเตอร์ เข้าไปใช้กับธุรกิจการเงินต่างๆ คอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นแบบมินิคอมพิวเตอร์ พ.. 2522 ไมโครคอมพิวเตอร์ เริ่มเข้าสู่ประเทศไทย และได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทางธุรกิจขนาดเล็ก เริ่มตื่นตัว และนำคอมพิวเตอร์เข้าไปร่วมงาน จากนั้นมาการศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ก็ขยายตัวอย่างแพร่หลายและกว้างขวาง มหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งโรง เรียนสามัญ และวิชาชีพต่างเปิดสอน สาขาด้านคอมพิวเตอร์กันอย่างแพร่หลาย รวมถึงสถาบันเอกชน เปิดอบรมด้านคอมพิวเตอร์ ก็มีขึ้น อย่างมากมายในปัจจุบัน


บทที่ 1
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
COMPUTER HARDWARE



1.
ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)

ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System) มีองค์ประกอบหลักอยู่ 3 ส่วนคือ
1.
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
2.
ซอฟต์แวร์ (Software)
3.
คน (People)
          
ฮาร์ดแวร์ หมายรวมถึงทั้งส่วนที่เป็นตัวเครื่อง และอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ และอาจจะหมายรวมถึงส่วนที่สามารถจับต้องได้ก็ได้ ความหมายของฮาร์ดแวร์นั้นอาจกล่าวได้อีกนัยหนึ่งก็คือส่วนประกอบอิเลคทรอนิกส์ที่เป็นอุปกรณ์ทางกายภาพ เช่น หน่วยขับจานบันทึก (Disk Drive) จอภาพ (Screen or Monitor) เมาส์ (Mouse) แผ่นวงจร (Card) อุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral Device) และอุปกรณ์ต่างๆ ที่รวมกันทำงานเป็นระบบคอมพิวเตอร์
          
ส่วนซอฟต์แวร์หรือส่วนชุดคำสั่งนั้น หมายถึงโปรแกรม (Program) ใช้งานซึ่งเป็นชุดคำสั่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น
เพื่อให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติการหรือทำงานได้ตามที่ต้องการ ชุดคำสั่งต่างๆ ที่เขียนขึ้นมานั้นจะต้องมีลำดับขั้นตอนที่ถูกต้อง ระบบคอมพิวเตอร์ถึงจะสามารถทำงานได้อย่างถูกต้องด้วย สำหรับบุคคลที่เขียนสามารถโปรแกรมต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งานนั้นเราจะเรียกว่านักเขียนโปรแกรม (Programmer)
          
สำหรับองค์ประกอบสุดท้ายของระบบคอมพิวเตอร์นั้นอาจกล่าวได้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดนั่นคือคน
นั้นเอง เนื่องจากคน (People) สำคัญที่สุด เพราะคนหรือผู้ใช้งาน (User) นั้นสามารถสั่งให้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทำงานได้
          
ในบางครั้งเราจะเรียกผู้ใช้งาน (User) ว่า "เอนยูสเซอร์" (End User) เพราะเป็นบุคคลที่ใช้และติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์เป็นบุคคลสุดท้าย (End) และเป็นผู้สั่งการ/ผู้ใช้งาน โดยตรง

 

2. องค์ประกอบของเครื่องคอมพิวเตอร์

          คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ในการประมวลผลข้อมูลที่ทำงานด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ด้วยความเร็วสูง โดยการทำงานหลักของคอมพิวเตอร์คือการรับข้อมูล (Input) การประมวลผลข้อมูล (Process) และการแสดงผลลัพธ์ (Output) ออกมาให้เห็น ทั้งยังสามารถจัดเก็บข้อมูลไว้ในอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device) และสำหรับการประมวลผลข้อมูลนั้นจะทำโดยชุดคำสั่งที่มนุษย์สั่งขึ้นเพื่อการทำงาน
การทำงานหลักของคอมพิวเตอร์ทั้ง 4 หน้าที่ได้แก่ การรับข้อมูล การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ และการจัดเก็บข้อมูล (Storage) จะต้องอาศัยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ดังต่อไปนี้

1. อุปกรณ์รับเข้า (Input Device) เป็นอุปกรณ์ที่รับข้อมูลหรือคำสั่งเข้าสู่คอมพิวเตอร์แล้วทำการส่ง ต่อไป
ยังหน่วยประมวลผลกลาง (Processing Unit) อุปกรณ์รับเข้าที่เห็นโดยทั่วๆ ไปได้แก่ แผงแป้นอักขระ หรือคีย์บอร์ด (Keyboard) เมาส์ เป็นต้น

 

2. หน่วยประมวลผล (Processor) บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit :
CPU)
หรือซีพียู หน่วยประมวลผลจะทำหน้าที่ในการประมลผลข้อมูลต่าง ๆ ที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูล ที่รับข้อมูลมาจากอุปกรณ์รับเข้า

 

3. อุปกรณ์ส่งออก (Output Device) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลหรือผลที่ได้จากการประมวลผลออก
มาแสดง ตามความต้องการของผู้ใช้ที่ได้กำหนดไว้แล้วตั้งแต่ต้น อุปกรณ์ส่งออกโดยทั่วไปได้แก่ จอภาพ ลำโพง (Speaker) และ เครื่องพิมพ์ (Printer)

 

4. อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล (Storage Device) ในที่นี้หมายถึงอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage
Device)
ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ ได้ เช่น แผ่นบันทึกหรือแผ่นดิสก์เก็ต (Diskette or Floppy Disk) จานบันทึกแบบแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นต้น

           อุปกรณ์เก็บข้อมูลหลัก (Primary Storage) หรือหน่วยความจำ (Memory) บางทีเรียกว่า หน่วยความจำหลัก (Main Memory) นั้นจะอยู่ติดกับซีพียู จนบางครั้งอาจถือว่าหน่วยความจำหลักนี้เป็นส่วนหนึ่งของซีพียู ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมต่าง ๆ เพียงชั่วคราวเท่านั้นหลังจากรับข้อมูลมาจากอุปกรณ์รับข้อมูลเข้า ก่อนที่จะถูกส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเป็นที่พักข้อมูลก่อนที่จะถูกส่งไปยังอุปกรณ์ส่งออก เมื่อปิดเครื่องหรือมีเหตุขัดข้อง เช่น ไฟฟ้าดับกระทันหัน และไม่ได้มีการบันทึกข้อมูลลงในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ดิสก์เก็ต ไว้ก่อนหน้า
ข้อมูลนั้นจะสูญหายทันที

 

3. ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

          
เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภทตามความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการใช้งานได้ดังนี้คือ

1. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer)

          
บางทีเรียกว่า เครื่องพีซี (PC) เนื่องจากคำว่าพีซี นั้นได้มาจากชื่อรุ่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) ที่บริษัท IBM ได้ผลิตออกมาขายในท้องตลาดเมื่อปี ค..1981 และได้ประสบความสำเร็จทางการค้าอย่างมาก จนในปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์ มักจะถูกเรียกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer) และอีกในความหมายก็ยังหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้เฉพาะบุคคล เพราะไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่มีความสามารถในการทำงานที่จำเป็นในการทำงานต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ระบบการทำงานต่างๆ ทั้งหมดจะอยู่ภายในเครื่อง รวมถึงโปรแกรมต่างๆ ด้วย

          ไมโครคอมพิวเตอร์มีราคาไม่แพงมากนักจึงเป็นที่นิยมใช้งานในหมู่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก และเนื่องจาก ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่สามารถวางบนโต๊ะทำงานได้ ในบางครั้งจึงเรียกว่าคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) ในปัจจุบันไมโครคอมพิวเตอร์ มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า โฮมคอมพิวเตอร์ (Home Computer) เพราะในประเทศที่พัฒนาแล้ว แทบทุกครัวเรือนจะมีคอมพิวเตอร์นี้ใช้กันเกือบทุกบ้านและใช้งานทั่วๆ ไปในบ้านเช่นพิมพ์งาน สอบถามข้อมูล ทำบัญชีรับจ่ายในบ้านเป็นต้น และเนื่องจากเทคโนโลยีของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว และมีความสามารถมากขึ้น มีการนำเครื่อง ไมโครคอมพิวเตอร์ ไปเป็นลูกข่ายของเครื่องเมนเฟรม หรือเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ อีกทั้งสามารถประยุกต์กับงานหลายๆ ด้าน เช่น งานด้านวิศวกรรม การเงินการธนาคาร การออกแบบกราฟฟิกส์ และการเรียนการสอน เป็นต้น นอกจากในปัจจุบันยังได้มีการวิจัยในเรื่องของการนำไมโคร-คอมพิวเตอร์ หลายๆ เครื่องมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับเครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์อีกด้วย
          
ยังมีไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดสมุดบันทึกหรือโน้ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) ที่มีลักษณะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ กระเป๋าหิ้ว ที่ผู้ใช้สามารถหิ้วไปทำงาน ณ ที่แห่งใดก็ได้นั้น ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้เป็นอย่างมาก ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้วอีกชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าโน้ตบุ๊คเล็กน้อยจนในปัจจุบันถือว่าแทบจะไม่ต่างกันคือ เครื่องคอมพิวเตอร์วางตักหรือ แล็ปทอปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) ก็อำนวยความสะดวกเช่นเดียวกัน

 

2. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
          
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงและมักใช้เป็น คอมพิวเตอร์ศูนย์กลางในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN : Local Area Network) มินิคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดกลางที่นิยมใช้ในธุรกิจขนาดเล็ก รัฐวิสาหกิจขนาดกลาง มหาวิทยาลัย เป็นต้น

 

3. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
          
เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูง เมนเฟรมไม่นิยมนำมาใช้งานทั่วไป เพราะราคาแพงยังสูงมาก นิยมนำมาเป็น เครื่องบริการหรือเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่มีผู้ใช้งานจำนวนมากเช่น ธนาคาร, ประกันภัย, ธุรกิจสายการบิน ซึ่งเมนเฟรมคอมพิวเตอร์สามารถรองรับการใช้งานจากผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียวกันเช่น การจองที่นั่งของสายการบิน จะรับข้อมูลจาก เทอร์มินอลลูกข่ายหลายๆ จุด ที่ต้องการใช้ข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเมนเฟรมคอมพิวเตอร์จะเป็น คอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง ที่สามารถรองรับการทำงานได้เป็นอย่างดี

 

4. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
          
เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาแพงและถูกออกแบบมาให้ ทำงานการคำนวณที่ซับซ้อนด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่จะทำได้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์จะใช้สำหรับ การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแบบจำลองที่ซับซ้อน หรือระบบที่มีความเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว เช่น สภาพอากาศของโลก การยิงขีปนาวุธ เป็นต้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มักใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ เช่น องค์กรของรัฐบาล บางครั้งใช้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์เป็นตัวให้บริการแก่เครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายอื่นๆ เพราะมีความสามารถในการประมวลผลรวดเร็วและเก็บข้อมูลได้จำนวนมาก


ในบางครั้งเราอาจจะมีประเภทของคอมพิวเตอร์เพิ่มอีกได้ดังนี้

1. คอมพิวเตอร์มือถือ (Handheld Computer)
          
ที่เรียกว่า เครื่องช่วยดิจิทัลส่วนตัว หรือพีดีเอ (Personal Digital Assistant : PDA) ซึ่งเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดเล็ก ใช้ในการเก็บข้อมูลการนัดหมาย ข้อมูลทางธุรกิจ ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้าหรือเก็บข้อความสั้นๆ เป็นต้น พีดีเอแต่ละตัวนั้น มีความสามารถที่หลากหลายและเฉพาะตัว บางตัวสามารถรับส่ง จดหมายอีเล็กทรอนิกส์ ได้ ผู้ใช้พีดีเอ สามารถใช้งานคล้ายสมุดจดโน้ตต่างๆ เพราะผู้ใช้สามารถ ถือไปไหนมาไหนได้สะดวกและสามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ เก็บไว้ในพีดีเอได้

 

2. สถานีงาน (Workstation)
          
เป็นการนำคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) มาใช้เป็นคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางในข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ แทนที่จะใช้มินิคอมพิวเตอร์หรือ สถานีงานมืออาชีพ (Professional Workstation) ที่มีราคาแพงมากแต่ความสามารถใกล้เคียงกัน (แม้จะไม่เท่าเทียมกัน) เพื่อดำเนินงานโปรแกรมประยุกต์ (Application Software) และให้บริการเป็นจุดเข้าถึงของข่ายงาน นอกจากนี้สถานีงานอีกรูปแบบหนึ่งจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีราคาสูง แต่มีความสามารถในการประมวลผลสูง มีความสามารถในการทำภาพกราฟฟิก Workstation ชนิดนี้มักจะใช้ในงานวิศวกรรมเพื่อวัตถุประสงค์ในการออก แบบผลิตภัณฑ์และการทดสอบต่างๆ ลักษณะของสถานี งานที่สำคัญคือการมีเครื่องปลายทาง (Terminal) เพื่อรองรับการทำงานระบบหลายผู้ใช้ (Multiuser System)

 

4. ฮาร์ดแวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล

           
เนื่องจากไมโครคอมพิวเตอร์มีบทบาทในการทำงานในปัจจุบันมาก ดังนั้นการเรียนรู้ถึงอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรจะทราบไว้
ไมโครคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบหลัก 4 ส่วน ดังเช่นที่ได้กล่าวมาแล้วคืออุปกรณ์รับเข้า (Input Device) อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูล (Processing Device) อุปกรณ์ส่งออก (Output Device) และอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Device)
            
โดยจะมี เมาส์ และ คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์รับเข้าโดยผู้ใช้สามารถพิมพ์และส่งข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล ในบางครั้งจะมีการใช้อุปกรณ์อื่นๆ เพื่อการนำข้อมูลเข้าด้วยเช่น เครื่องกราดภาพหรือสแกนเนอร์ (Scanner)
            
อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลจะต้องมีหน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือที่เรียกว่า ซีพียู (CPU) ที่ใช้เป็นที่พักและ ใช้โปรแกรมที่ต้องการทำงาน ซึ่งอยู่ในกล่องสี่เหลี่ยมมีขนาดไม่ใหญ่นักที่เรียกว่าเคส (Case)
            
ซีพียู ประกอบด้วยแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถทำการแปลและประมวลผลชุดคำสั่งต่างๆ ได้อย่าง รวดเร็ว และถูกต้อง หรืออาจจะกล่าวได้ว่าหน่วยประมวลผลกลาง ทำหน้าที่แปลงข้อมูลดิบ (Raw Data or Data) ไปเป็นสารสนเทศ (Information) ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความหมายและสามารถนำไปใช้งานได้
            
อุปกรณ์ส่งออกที่ใช้ในการดูผลลัพธ์ต่างๆ ที่เกิดจากการประมวลผลนั้น ได้แก่ จอภาพ เครื่องพิมพ์ และลำโพง เป็นต้น

 

 

 

           ภายในเคสเอง นอกจากจะประกอบไปด้วยซีพียูแล้วยังมีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง อยู่ในเคสนั้นด้วย ได้แก่ จานบันทึกแบบแข็งหรือฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ซึ่งปกติฮาร์ดดิสก์จะติดอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ ไม่นิยมจะเคลื่อนย้ายไปไหน สำหรับแผ่นดิสก์เก็ตนั้นจะสามารถนำออกมาเพื่อใช้ในการพกพาหรือเคลื่อนย้ายได้ อย่างไรก็ตามฮาร์ดดิสก์จะเก็บข้อมูลได้มากและทำงานได้รวดเร็วกว่าดิสก์เก็ตมาก
           
อุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูลจากอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองนั้น ที่เรียกว่าหน่วยขับ (Drive) ซึ่งมีตั้งแต่หน่วยขับ จานบันทึก (Disk Drive) หน่วยขับซีดีรอม (CD ROM Drive) เป็นต้น
และสำหรับอุปกรณ์ภายนอกต่างๆ ที่ติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดจะเรียกรวมกันว่า อุปกรณ์รอบข้าง (Peripheral Equipment) ซึ่งมีทั้งอุปกรณ์รับเข้า อุปกรณ์ส่งออก และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ซึ่งอุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เหล่านี้อาจตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือไม่ก็ได้ ตามแต่สายสัญญาณหรือการสื่อสารข้อมูลที่ต้องการให้ไปถึง

 

5. การสื่อสารข้อมูลสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่

           
ในส่วนของอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ส่วนใหญ่ก็จะนั้นไม่แตกต่างจากเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมากนัก นอกจากจะมีเพิ่มเติมในบางส่วน แต่สาระสำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะอยู่ที่ ประสิทธิภาพและความสามารถมากกว่า
            
ในอดีตอุปกรณ์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ข้อมูลและอุปกรณ์ต่างๆ จะถูกเก็บรวบรวมไว้ ณ ที่แห่งเดียวกันที่เรียกว่า ระบบรวมศูนย์ (Centralized System) บุคคลใดต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ต้องไปที่ศูนย์นั้น หรือส่งข้อมูลเข้ามาประมวลที่ศูนย์กลาง การเกิดระบบรวมศูนย์กลางนั้นอาจเนื่องมาจากว่า             ในสมัยก่อนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการประมวลผลมีการราคาแพง ทำให้มีจำนวนไม่มากนัก และต้องการการดูแลมากเป็นพิเศษ แต่ในปัจจุบันนั้นการใช้ระบบรวมศูนย์นั้นมักจะใช้กับความต้องการให้มีการทำงานภายใต้การควบคุมจากส่วนกลาง
            
ในปัจจุบันเมื่อราคาของคอมพิวเตอร์ต่ำลงและความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์มีมากขึ้นจึง ระบบคอมพิวเตอร์ ได้เปลี่ยนมาเป็น ระบบแยกจากศูนย์ (Decentralized System) เพราะในบางครั้งการประมวลผลแบบรวมศูนย์นั้นก่อปัญหาลำบากแก่ผู้ใช้งาน และโดยระบบแยกอิสระนี้ แต่ละหน่วยงานจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลเป็นของตนเอง ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์ต่างๆ ได้สะดวกขึ้น ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ตามหน่วยงานของแต่ละคนนั้น ยังสามารถเชื่อมโยงเป็นระบบเครือข่ายได้ โดยผ่านสายโทรศัพท์ ตัวอย่างเช่น สำนักงานใหญ่ของธนาคาร จะเก็บข้อมูลลูกค้าจากสาขาย่อยทั้งหมด เมื่อสาขาย่อยแต่ละสาขาต้องการดูข้อมูลก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลได้ในเวลาพร้อมๆ กัน
             
ในเรื่องระบบแยกจากศูนย์นำไปสู่ การสื่อสารข้อมูล (Data Communication) ซึ่งถือว่าเป็นขบวนการสำคัญ เพราะทำให้แต่ละจุดที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ผ่านทางสายส่งข้อมูล เช่น สายโทรศัพท์ เป็นต้น การแยกอิสระของระบบย่อยออกจากระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ การแยกอุปกรณ์ต่างๆ กระจายไปตามจุดต่างๆ นั้น ก่อให้เกิด ระบบใหม่ที่เรียกว่า ระบบการประมวลผลแบบกระจาย (Distributed Data Processing) จะทำการประมวลผลข้อมูลตามจุดต่างๆ ที่มีโครงสร้างของอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น บริษัทประกันภัยสำนักงานใหญ่ใช้เครื่องเมนเฟรม เป็นคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง แต่สาขาย่อยใช้เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ประมวลผล ซึ่งการที่อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์นั้นแตกต่างกัน จึงต้องการระบบการประมวลผลแบบกระจายที่ดีด้วย
             
ระบบเครือข่ายแบบหนึ่งที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย คือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network) หรือเรียกย่อว่า แลน (LAN) เป็นระบบเครือข่ายขนาดเล็ก ส่วนมากนิยมใช้ในพื้นที่จำกัด อาทิเช่น ภายในสำนักงาน เชื่อมโยงเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารได้สะดวกขึ้น

 

6. อินเทอร์เน็ต

             
อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเครือข่ายขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงผู้ใช้ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน อินเทอร์เน็ต สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับที่ใดๆ ก็ได้ อาทิเช่น ห้องสมุด มหาวิทยาลัย ระบบธุรกิจ และองค์กรต่างๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ที่ท่องไปบนโลกของอินเทอร์เน็ต ในระบบอินเทอร์เน็ตไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นเจ้าของอินเทอร์เน็ตโดยตรง ทุกคนสามารถใช้งานได้ถ้าเชื่อมต่อเข้ามาในระบบอินเทอร์เน็ต
             
ในระบบอินเทอร์เน็ตนั้น ผู้ใช้สามารถติดต่อไปยังคอมพิวเตอร์แม่ข่าย หรือเครื่องบริการหรือเซิร์ฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่เก็บและให้บริการข้อมูลต่างๆ มาตรฐานการสื่อสารที่ทำให้ระบบอินเทอร์เน็ตที่ต่างระบบกันทำงานร่วมกันได้ เรียกว่า ทีซีพี ไอพี (TCP/IP: Transmission Control Protocol/ Internet Protocol) ซึ่งการใช้งานบนระบบ
อินเทอร์เน็ตจะต้องถือปฏิบัติให้เหมือนกันตามกฎระเบียบมาตรฐานนี้
             
ผู้ให้บริการการใช้งานบนระบบอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า ไอเอสพี (Internet Service Provider : ISP) จะดูแลเซิร์ฟเวอร์ และควบคุมการใช้บริการอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้ ซึ่งการสื่อสารแห่งประเทศไทยเป็นผู้ให้สัมปทานการให้บริการอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยและผูกขาดบริการสื่อสารระหว่างประเทศ ซึ่งมีไม่น้อยกว่า 20 บริษัทที่ได้รับสัมปทาน แต่มีบริษัทเพียงไม่กี่บริษัทที่เป็นที่รู้จักกันดี เช่น บริษัทอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยจำกัด (ใช้ชื่อบริการว่า  ไอเน็ต ซึ่งบริษัทอินเทอร์เน็ตประเทศไทยจำกัด เป็นบริษัทที่ทำในนามทางการค้าของ NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ) บริษัทเคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด (ใช้ชื่อบริการว่า เคเอสซี คอมเน็ต) บริษัท ล็อกซเลย์ อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ใช้ชื่อบริการว่า ล็อกซอินโฟร์) บริษัทอินโฟ แอคเซส จำกัด (ใช้ชื่อบริการว่า อินโฟนิวส์) เป็นต้น
             
ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ต ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในกลุ่มผู้ใช้ ที่ต้องการทราบข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นข่าวสารด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว การศึกษา การเงิน และด้านอื่นๆ ซึ่งการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดระบบเวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web :WWW) หรือ เรียกว่า เว็บ (Web) มีทั้งข้อความ, รูปภาพ, เสียง และภาพเคลื่อนไหวเชื่อมโยงไว้ให้ผู้ใช้ค้นหาตามเนื้อเรื่องที่สนใจ แต่ละสถานที่ที่เก็บข้อมูลต่างๆ มากมายนั้นเรียกว่าเว็บไซต์ (Web Site) หรือ ไซต์ (Site) ในแต่ละไซต์จะประกอบด้วยโฮมเพจ (Home Page) ที่หมายความถึงหน้าแรกของเว็บไซด์นั้นๆ และข้อมูลในหน้าอื่นๆ อีกมากมายและสามารถเชื่อมโยงต่อกันได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด  ในการออกแบบเว็บไซด์นั้น จำเป็นต้องมีทั้งศาสตร์และศิลปะ ที่จะทำให้ในแต่ละหน้าของเว็บไซต์ที่เรียกรวมกันว่าเว็บเพจ (Web Page) นั้นน่าเข้าชมหรือศึกษาหา ความรู้โดยไม่น่าเบื่อ และการเรียกดูเว็บไซด์นั้นจะต้องอาศัยโปรแกรมบราวเซอร์ (Browser) ซึ่งในปัจจุบันบราวเซอร์ที่เป็นที่นิยมได้แก่ เนสเคปเนวิเกเตอร์ (Netscape Navigator) และไมโครซอฟท์อินเทอร์เน็ตเอกซ์โพลเรอร์ (Microsoft Internet Explorer) หรือที่เรียกว่าไออี (Internet Explorer : IE)


บทที่ 2
คอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์
COMPUTER SOFTWARE

บทนำ

          
เมื่อพูดถึงคอมพิวเตอร์คนส่วนมากมักจะนึกถึงอุปกรณ์หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น คีย์บอร์ด (Keyboard) จอภาพ (Monitor or Screen ) และหน่วยขับจานบันทึก หรือดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) เป็นต้น แต่สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ทำหน้าที่สั่งให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำงานได้ คือ ซอฟต์แวร์ (Software) เพราะถ้าปราศจากซอฟต์แวร์แล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์ ก็จะเป็นแค่เครื่องจักรที่ไม่สามารถทำงานอะไรได้
          
โดยทั่วไปซอฟต์แวร์สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
2.
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
         
ตามปกติซอฟต์แวร์ระบบจะถูกติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วแต่ทั้งนี้ซอฟต์แวร์ระบบ จะมีราคาแยกต่างหากจากตัวคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ระบบจะประกอบ ไปด้วยโปรแกรมต่างๆ ที่ช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างสะดวกและมีประสิทธิภาพ ซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดีคือระบบปฏิบัติการ (Operating System) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์แวร์ระบบงานนั่นเอง
สำหรับซอฟต์แวร์ประยุกต์จะเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้ออกแบบเขียนขึ้นเองเพื่อทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการ เพื่อประยุกต์ใช้กับระบบงานด้านต่างๆ เช่น งานด้านสินค้าคงคลัง งานบัญชี งานธนาคาร หรือแม้แต่เกมส์ เป็นต้น

 


1.
ประเภทของซอฟต์แวร์

1.1 ซอฟต์แวร์ระบบ (Sostem Software)

-
ระบบปฏิบัติการแบบต่างๆ  

          ระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดการการทำงาน ภายในของคอมพิวเตอร์และ จัดเตรียมวิธีในการควบคุม การปฏิบัติงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำหน้าที่ในการจัดการให้ฮาร์ดแวร์ของ ระบบคอมพิวเตอร์ ทำงานร่วมกับ ซอฟต์แวร์ประยุกต์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดูแลจัดการและจัดสรรการทำงานของทรัพยากรต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (Memory) ช่องอ่านข้อมูล (Disk Drive) และเครื่องพิมพ์ (Printer) ให้มีการทำงานได้อย่างถูกต้อง โดยจะควบคุมตำแหน่งสถานที่เก็บและ การรับส่งข้อมูลและทำหน้าที่จัดลำดับของงาน เพื่อให้เกิดการประมวลผล อย่างต่อเนื่อง
          
ระบบปฏิบัติการมีวิวัฒนาการมาจากเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่ม (Batch Processing Technology) และระบบการแบ่งกันใช้เวลา (Time Sharing Systems) ซึ่งระบบนี้เริ่มเป็นที่นิยมใช้บนเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ ปี ค.. 1970 และพัฒนาต่อเนื่องมาสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่
         
ในปี ค.. 1980 ระบบปฏิบัติสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้เริ่มมีการพัฒนาขึ้น พร้อมๆ กับนำเอา  แนวคิดจาก ระบบปฏิบัติการของ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เข้าไปผนวกใช้
           
สำหรับระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่จะมีความซับซ้อนมากขึ้น เพราะจะต้องดูแล การทำงาน หลายโปรแกรม หลายผู้ใช้ และหลายอุปกรณ์ในเวลาพร้อมๆ กัน ซึ่งต้องมีการจัดลำดับการใช้งานและการให้บริการ เพื่อให้ การทำงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
           
ระบบปฏิบัติการของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีความสามารถสูงขึ้น นอกจากการทำงาน ในหน้าที่ปกติแล้ว ยังสามารถรองรับระบบที่มีผู้ใช้หลายคน หรือมีการใช้งานหลายงานในเวลาเดียวกันได้ ระบบปฏิบัติการ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคลที่รู้จักกันดีในปัจจุบันก็คือ วินโดวส์ (Windows) ซึ่งมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ หรือ กุย (Graphical User Interface : GUI) ที่มีการใช้ที่เป็นรูปภาพหรือที่เรียกว่าสัญรูป (Icon) โดยใช้เมาส์อุปกรณ์หลักในการสั่งข้อมูลนำเข้า ซึ่งลักษณะการใช้งานแบบนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่าย

รูประบบปฏิบัติการของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่เป็นวินโดวส์ (Windows) ที่มีการใช้รูปภาพหรือที่เรียกว่าสัญรูป (Icon) ในการทำงาน

          สำหรับระบบปฏิบัติการของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ยังนิยมใช้อยู่ในปัจจุบันอีกระบบหนึ่ง และเป็นที่รู้จักกันดีคือระบบปฏิบัติการดอส ( DOS : Disk Operating System) ซึ่งระบบปฏิบัติการนี้นั้นนอกเหนือจากจะควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วยังควบคุมการทำงานที่เกี่ยวกับดิสก์เก็ตหรือ ดิสก์ เป็นส่วนใหญ่เช่น การทำสำเนาบนดิสก์ การคัดลอกข้อมูลระหว่างดิสก์เก็ต การจัดระบบชื่อแฟ้ม การลบแฟ้มข้อมูล เป็นต้น
           
ระบบปฏิบัติการดอสมีลักษณะการใช้งานเป็นแบบส่วนต่อประสานรายคำสั่ง (Command-line Interface ) โดยต้องใช้คำสั่งเฉพาะในการทำงานและผู้ใช้จำเป็นต้องรู้วิธีใช้คำสั่งนั้นๆ เช่น การคัดลอกข้อมูลระหว่างดิสก์เก็ตต้องใช้คำสั่งว่า DISKCOPY เป็นต้น

ระบบปฏิบัติการ

รายละเอียด

CP/M

ย่อมาจาก Control Program for Microcomputer ใช้กับการทำงานของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 8 Bits รุ่นแรกๆ เช่น Apple Computer ในปัจจุบันคงไม่ผู้นำมาใช้งานแล้ว

OS/2 (Operating System/2)

เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลของ IBM รุ่น PS/2 ที่ในขณะนั้นมีข้อได้เปรียบกับ ระบบปฏิบัติการอื่นๆ คือสามารถทำงานได้เร็วเพราะใช้กับไมโครโพรเซสเซอร์ขนาด 32 บิต สามารถทำงานได้หลายงาน พร้อมกัน (Mutitasking) และหลายผู้ใช้พร้อมกัน (Multiuser) อย่างไรก็ตาม OS/2 ก็ไม่เป็นที่นิยมใช้

Windows

เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 Bits มีลักษณะการทำงานเป็นแบบ Graphical User Interface และมีสามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน (Mutitasking) และหลายผู้ใช้พร้อมกัน (Multiuser) ระบบ Windows ได้ถูกพัฒนาต่อเนื่องกันมาให้มีความสามารถมากขึ้นจาก Windows' 95 97 98 และล่าสุดจะเป็นWindows' 2000 ซึ่ง Windows ทุกระบบจะเป็นที่นิยมใช้งานมากในปัจจุบัน (สำหรับระบบ Windows ที่ได้พัฒนาและออกวางจำน่ายในปี 1996 นั้นไม่เป็นที่นิยมใช้)

Windows NT

เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 32 Bits สนับสนุนการทำงานในลักษณะเครือข่าย (Networking) และระบบสถานีงาน (Workstation) และยังสามารถใช้ได้กับมินิคอมพิวเตอร์ได้

DOS

ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ 16 Bits มีลักษณะ การทำงานเป็นแบบ Command-line Interface และมีสามารถทำงานทีละงาน (Single Task) เท่านั้น DOS มีผู้ผลิต 2 รายคือ PC-DOS ของบริษัท IBM และ PC-DOS ของบริษัท Microsoft ระบบ DOS ยังคงเป็นที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

UNIX

เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ขึ้นไปจนถึงเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และ เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สนับสนุนการทำงานในลักษณะเครือข่าย (Networking) และระบบสถานีงาน (Workstation) มีระบบการทำงานเป็นแบบ Command-line Interface สามารถทำงานได้หลายงานพร้อมกัน (Mutitasking) และหลายผู้ใช้พร้อมกัน (Multiuser) ข้อดีของระบบ UNIX คือการเป็นระบบเปิด (Open System) คือสามารถ ถ่ายโอนโปรแกรมไปใช้กับเครื่องใดๆ ก็ได้ ระบบ UNIX มีผู้ผลิตหลายราย และตั้งชื่อไปตามผู้ผลิต เช่น SUN OS LINUX BSD เป็นต้น ระบบ UNIX นิยมใช้อย่างมากในสถาบันการศึกษา งานวิจัย และระบบเครือข่าย

IBM MVS

เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับ IBM เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ในยุคปัจจุบัน ที่เน้นการทำงานได้หลายงานพร้อมกัน (Mutitasking) และหลายผู้ใช้พร้อมกัน (Multiuser)

DEC VMS

เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้กับ DEC มินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรมคอมพิวเตอร์เน้นการทำงานได้หลายงานพร้อมกัน (Mutitasking) และหลายผู้ใช้พร้อมกัน (Multiuser)

 

1.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)

           จากที่ได้กล่าวมาแล้วว่าซอฟต์แวร์ประยุกต์จะเป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้ออกแบบเขียนขึ้นเองเพื่อทำงานเฉพาะตามความต้องการ เพื่อประยุกต์ใช้กับระบบงาน ด้านต่างๆ เฉพาะด้าน
           
ซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นมีทั้งซอฟต์แวร์สำเร็จ (Package Software) และ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเองตามความต้องการของผู้ใช้ (Custom Software) ซอฟต์แวร์สำเร็จหรือคำว่าแพ็คเกจ (Package) นั้นมาจากลักษณะการวางจำหน่ายแผ่นซอฟต์แวร์และเอกสารประกอบการใช้งาน (Documentation) ของซอฟต์แวร์สำเร็จนั้นจะถูกบรรจุ อยู่ในบรรจุภัณฑ์อย่างสวยงาม และวางขายตามร้านค้าคอมพิวเตอร์ อย่างสำเร็จรูปนั้นเอง และซอฟต์แวร์สำเร็จเหล่านี้ จะสะดวกต่อการใช้งานของผู้ใช้มาก เนื่องจากผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรู้จักวิธีการเขียนโปรแกรมเลย เพียงแต่รู้จักวิธีการใช้คำสั่งต่างๆ เท่านั้นก็สามารถ ทำงานให้สำเร็จ ตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ได้

ซอฟต์แวร์สำเร็จที่นิยมใช้ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 ประเภทหลักๆ คือ

1. การประมวลผลคำหรือเวิร์ดโปรเซสซิ่ง (Word Processing )

          เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการพิมพ์เอกสาร รายงาน จดหมาย การนัดหมาย และอื่นๆ ซึ่งโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่งนี้ สามารถทำการสร้างเอกสาร แก้ไข จัดรูปแบบ จัดเก็บ และสั่งพิมพ์เอกสารได้สะดวกและง่ายดายโดยการแก้ไข (Edit) จัดรูปแบบ (Format) และจัดเก็บ (Store) ซึ่งเป็นจุดเด่นของโปรแกรม เวิร์ดโปรเซสซิ่ง เพราะสามารถแก้ไขเอกสารและจัดรูปแบบตัวอักษรได้หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับซอฟต์แวร์นั้นๆ รวมทั้งยังสามารถ จัดเก็บเอกสารไว้ ในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์เก็ตได้ง่ายและสะดวกในการเรียกใช้ครั้งต่อไป โปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่งที่รู้จักกันดีได้แก่ Wordstar Word Perfect CU Writer และ Microsoft Word เป็นต้น
          
โปรแกรมเกี่ยวกับงานพิมพ์เอกสาร อีกตัวหนึ่งที่พัฒนาความสามารถมากกว่าโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสซิ่งที่ได้กล่าวมาคือ โปรแกรมการจัดพิมพ์ด้วย คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing Software) ซึ่งสามารถพิมพ์เอกสารและจัดรูปแบบ สีสันของเอกสารได้ดีเยี่ยม มีการออกแบบตัวอักษร และรูปภาพ อย่างสวยงาม มักใช้ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เช่น ป้ายโฆษณา โปสการ์ด หนังสือพิมพ์ นิตยสาร เป็นต้น โปรแกรมการจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบ ตั้งโต๊ะที่นิยมใช้มาก ได้แก่ โปรแกรม PageMaker

 

2. แผ่นตารางทำการอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Spreadsheet)


          
เป็นการทำข้อมูลต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นตารางหรือกราฟ เช่นการบันทึกยอดขายรายเดือนแบ่งตามสาขา การรายงานจำนวนผู้ใช้บริการในแต่ละเดือน เป็นต้น ซึ่งจะสามารถใช้โปรแกรมแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet Program) ที่มีลักษณะถูกแบ่งออกเป็นแถว (Row) และสดมภ์หรือคอลัมน์ (Column) และยังมี ฟังก์ชันที่ช่วย ในการคำนวณ บันทึกและประมวลผลข้อมูลได้อย่างอัตโนมัติ และยังสามารถสร้างรายงาน กราฟ ตารางและเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างสวยงาม โปรแกรม แผ่นตารางทำการอิเล็กทรอนิกส์ ที่รู้จักกันดีได้แก่ Lotus 1-2-3 และ Microsoft Excel

 

3. การจัดการฐานข้อมูล (Database Management)


           
ลักษณะของงานทางด้านฐานข้อมูลได้แก่ข้อมูลที่ ต้องการเก็บอยู่ในรูปของระเบียน (Record) เช่นข้อมูล ประวัตินักศึกษา ข้อมูลรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ข้อมูลประวัติลูกค้า เป็นต้น โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลจะทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ปรับปรุงข้อมูล ประมวลผลข้อมูล ดึงข้อมูลและ แสดงข้อมูลออก ในรูปแบบรายงานต่างๆ ตามที่ต้องการได้ไม่ยากนัก โปรแกรมการจัดการฐาน-ข้อมูลที่รู้จักกันดีได้แก่ dBASE FoxBASE FoxPro และ Access เป็นต้น
           
นอกจากซอฟต์แวร์จะช่วยด้านการเก็บข้อมูลแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถทำการสอบถามข้อมูลง่ายๆ จากฐานข้อมูลได้ ที่เรียกว่าภาษาสอบถามเชิงโครงสร้าง หรือ เอสคิวแอล (Structured Query Language : SQL) เช่น ต้องการทราบลูกค้าที่มียอดสั่งสินค้าสูงสุด ผู้ใช้ก็สามารถใช้คำสั่งสอบถามเองได้โดยไม่ยากนัก จะเห็นว่าโปรแกรมจัดการฐาน ข้อมูลนั้นมีประโยชน์สำหรับผู้ใช้เป็นอย่างมาก

 

4. โปรแกรมกราฟิก (Graphic Program)

          
ได้แก่การวาดภาพ การใช้รูปภาพ การตกแต่งภาพ การทำกราฟ หรือการทำแผนที่ เป็นต้น ซึ่งโปรแกรมกราฟฟิกจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการงานต่างๆ ทางด้านกราฟฟิกได้อย่างง่ายดาย สะดวก และไม่ต้องอาศัยความชำนาญอย่างมืออาชีพ แม้ว่าโปรแกรมกราฟิกบางอย่างอาจต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์ หรือความสามารถทางศิลปะบ้าง แต่อย่างไรก็ตามบุคคลธรรมดาก็ยังสามารถใช้โปรแกรมกราฟิกได้ โปรแกรมกราฟิกยังมีบทบาทสำคัญ เกี่ยวกับการทำ ภาพยนตร์การ์ตูน หรือภาพยนตร์หลายๆ เรื่องในปัจจุบันที่เรียกว่า งาน Animation ด้วย

 

5. โปรแกรมสื่อสาร (Communication Program)

          
เป็นโปรแกรมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการสื่อสาร เช่นการที่ทำให้คอมพิวเตอร์ และโมเด็ม สามารถใช้ในการส่ง และรับข้อมูลจากคอมพิวเตอร์อื่นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบอินเทอร์เน็ต เช่นการสั่งให้โมเด็มต่อโทรศัพท์ โปรแกรมการสื่อสาร บนอินเทอร์เน็ต การใช้โปรแกรมบราวเซอร์ เป็นต้น
          
ซอฟต์แวร์สำเร็จมักถูกออกแบบให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวก เพื่อให้ผู้เริ่มต้นใช้งานโปรแกรม รู้สึกว่าโปรแกรม สามารถเรียนรู้ และใช้งานง่าย การใช้งานซอฟต์แวร์ ทำโดยการนำแผ่นดิสก์ใส่เข้าไปในดิสก์ไดร์ฟ จากนั้นพิมพ์คำสั่ง หรือคลิกเมาส์ เพื่อเริ่มใช้หรือติดตั้ง (Install or Setup) โปรแกรม ทั้งหมดนี้ผู้ใช้สามารถ ทำงานได้เอง โดยไม่จำเป็นต้อง ให้ผู้ใดสอนการใช้งานโปรแกรมเลย และเนื่องจากซอฟต์แวร์สำเร็จ มีผู้ใช้ในวงกว้างบางครั้ง จึงมีการเรียก ซอฟต์แวร์สำเร็จ ว่า ซอฟต์แวร์ในแนวกว้าง (Horizontal Market Software)
          
ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตมักจะรวบรวมซอฟต์แวร์สำเร็จไว้เป็นชุดที่เรียกว่าโปรแกรมชุดสำนักงาน (Office Suit) ซึ่งมีราคาไม่แพงนัก โปรแกรมชุดสำนักงาน จะรวมโปรแกรมที่จำเป็นที่จะต้องใช้ในสำนักงานไว้อยู่ในชุดเดียวกัน โปรแกรมชุดสำนักงานที่รู้จักกันดีได้แก่ Microsoft Office ซึ่งจะรวมโปรแกรมสำคัญๆ ที่จำเป็นต้องใช้ไว้เป็นชุดเดียวกัน ซึ่งใน Microsoft Office จะประกอบซอฟต์แวร์หลักๆ ดังนี้

1. Microsoft Windows
ที่ใช้เป็นระบบปฏิบัติการ
2. Microsoft Word
ที่สำหรับใช้ในงานพิมพ์ และทำเอกสาร
3. Microsoft Excel
ที่สำหรับใช้ในงานแผ่นตารางทำการ หรือกราฟ
4. Microsoft PowerPoint
ที่สำหรับใช้ในช่วยในงานนำเสนอ (Presentation)
5. Microsoft Schedule+
ที่สำหรับใช้สำหรับบริหารกิจกรรมประจำวัน
6. Microsoft Access
ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล
7. Microsoft Internet Explorer
ที่ใช้เป็นบราวเซอร์ในระบบอินเทอร์เน็ต

           สำหรับ ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นเองตามความต้องการของผู้ใช้ (Custom Software) นั้น มักจะถูกเขียนขึ้นมาเพื่อใช้กับงานเฉพาะด้านที่ไม่สามารถหาโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้งานได้ ซึ่งมีตั้งแต่

1.
ซอฟต์แวร์ที่มีขอบเขตกว้างๆ เช่นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานบัญชี งานเงินเดือน งานคลีนิค ซอฟต์แวร์ในลักษณะนี้จะถูกเรียกว่า ซอฟต์แวร์ในแนวตั้ง (Vertical Market Software) เนื่องจากลักษณะของการใช้งานที่เฉพาะด้านแต่ไม่จำกัดผู้ใช้ในทุกระดับชั้น

2.
ซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้นมาใช้กับงานเฉพาะด้าน เช่น ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในตลาดหุ้น บริษัทขายน้ำมัน หรือ โรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น สำหรับซอฟต์แวร์ประเภทนี้ บริษัทเจ้าของกิจการมักจะมีหน่วยงานพัฒนาโปรแกรมของตนเอง หรืออาจว่าจ้างบริษัทภายนอกให้พัฒนาระบบให้ก็ได้

 

 

2. การได้มาของซอฟต์แวร์

           
การที่เราจะใช้ซอฟต์แวร์หนึ่งๆ นั้นเราจำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนว่าเราจะใช้ซอฟต์แวร์นั้นทำงานอะไร และซอฟต์แวร์ที่ต้องการนั้นจะมีลักษณะเป็นอย่างไร และจะหามาใช้ได้อย่างไร การได้มาซึ่งซอฟต์แวร์นั้นมีหลายลักษณะเช่น การซื้อ การทำสำเนา (Copy) อย่างถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ตามซอฟต์แวร์ที่ได้มาจากวิธีการต่างๆ จะมีการเรียกที่ต่างกันไปเช่น

1. Public Domain Software เป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่มีลิขสิทธิ์และแจกจ่ายให้ผู้ที่ต้องการใช้โดยไม่คิดมูลค่า
ไม่ต้องมีการขออนุญาตหรือเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะมี Public Domain ที่บริการให้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรี

 

2. Freeware เป็นซอฟต์แวร์ที่ได้รับการคุ้มครองทางลิขสิทธิ์ที่แจกจ่ายให้กับผู้ใช้โดยไม่คิดมูลค่า
โปรแกรมเหล่านี้จะไม่สามารถนำไปขายเพื่อหากำไรได้ ผู้ใช้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นอาจารย์, นักศึกษาหรือบุคคลอื่นๆ สามารถขอใช้ซอฟต์แวร์ฟรีนี้ได้จากได้ ซึ่งผู้ผลิตหรือผู้ขายจะเป็นผู้เสนอให้ใช้ซอฟต์แวร์ฟรีให้ใช้ หรือทดลองใช้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดสอบซอฟต์แวร์รุ่นเบต้า (Beta Software) ซึ่งเป็นโปรแกรมใช้งานรุ่นทดลองเป็นรุ่นที่ 2 ต่อจากรุ่นอัลฟา (Alpha) ที่ยังไม่พร้อมจะวางออกขายแต่อาจจะเผยแพร่เพื่อการทดลองใช้ และให้ผู้ใช้ช่วยส่งผลการทดลองใช้หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจาก การใช้กลับไปให้ผู้เขียนโปรแกรมได้ทราบเพื่อ ที่จะปรับปรุงให้เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถ นำออกจำหน่ายต่อไป

 

3. Shareware เป็นลักษณะของการใช้ซอฟต์แวร์ฟรีอีกประเภทหนึ่ง โปรแกรมนี้จะมีลิขสิทธิ์ถูกต้องตาม
กฎหมายและให้นำไปใช้โดยไม่คิดมูลค่า แต่ถ้าเราชอบโปรแกรมนี้หรือได้ประโยชน์จากโปรแกรมนี้ หรือตัดสินใจว่าจะต้องใช้ต่อไป เราควรจะต้องส่งเงินไปให้ผู้ที่เขียนโปรแกรมนั้นด้วย
ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ประเภท Shareware และ Freeware จะได้มาจาก Download ในระบบอินเทอร์เน็ต
ซึ่งผู้ใช้สามารถทำการสำเนาซอฟต์แวร์ที่ต้องการได้จากระบบเครือข่าย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น แต่ซอฟต์แวร์สามารถใช้งานได้นานเท่าใด ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตที่กำหนดระยะเวลาการใช้งานแต่ละซอฟต์แวร์

 

4. Copyrighted Software เป็นซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์และจะต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือจัดซื้อหามาเพื่อการใช้
งาน ซอฟต์แวร์เหล่านี้จะเป็นที่นิยมใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processing) โปรแกรมแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet Software) หรือแม้แต่โปรแกรมสำเร็จรูปเช่น Microsoft office
นอกจากนี้การทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่นอกเหนือจากการสำรองเพื่อกันความเสียหายโดยที่ไม่ได้เสียเงิน
หรือไม่ได้รับอนุญาต (ซึ่งการกระทำนี้สามารถทำได้ง่ายมาก เวลาไหนก็ได้ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใดๆ ก็ทำได้) ถือว่าเป็น การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ (Software Piracy) ซึ่งถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย (ความหมายของ Piracy หมายถึงการกระทำเยี่ยงโจรสลัด และนำมาใช้เพื่อเปรียบเทียบกับการลักลอบทำสำเนาซอฟต์แวร์ที่ไม่สามารถจับการกระทำผิดนี้ได้ว่าเป็นการกระทำเยี่ยงโจรสลัด ที่ไม่สามารถจับกุมได้เพราะอยู่กลางน่านน้ำ หลบหนีได้สะดวก)
ในบางครั้งผู้ผลิตจะเสนอแนวทางเลือกแก่ผู้ใช้โดยการให้ใบอนุญาตใช้เฉพาะที่ (Site License) ที่เป็นข้อตกลงระหว่างผู้ผลิตซอฟต์แวร์กับผู้ซื้อ ที่อนุญาตให้ผู้ซื้อสามารถทำสำเนาของซอฟต์แวร์นั้นเพื่อใช้ภายในหน่วยงาน และตามจำนวนเครื่องที่ตกลงไว้เท่านั้น ตามปกติหน่วยงานที่ใช้ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (Local Area Network : LAN) จะซื้อใบอนุญาตใช้เฉพาะที่สำหรับชุดโปรแกรมหนึ่งๆ เพื่อที่ผู้ใช้ในข่ายงานนั้น สามารถเข้าถึงโปรแกรมนั้นได้
ใบอนุญาตส่วนมากจะจำกัดจำนวนชุดของสำเนาที่จะทำ ราคาชุดต่อสำเนาจะถูกกว่าราคาชุดที่ผู้ใช้แต่ละคนซื้อส่วนตัวอยู่มากพอสมควร

 

5. Groupware เป็นซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมาเพื่อการทำงานร่วมกันในกลุ่ม เช่นโปรแกรมที่ออกแบบมาเพื่อ
การเขียนร่วมกันทำได้ง่ายขึ้น โดยที่โปรแกรมนี้จะให้สมาชิกในกลุ่มแทรกความเห็นและทำการเปลี่ยนแปลงข้อความหรือหัวเรื่องเพื่อให้สมาชิกคนอื่นๆ เห็นด้วยได้ ซอฟต์แวร์นี้อาจเรียกว่า Collaborative Software ก็ได้ นอกจากนี้ Groupware อีกลักษณะหนึ่งจะเป็นซอฟต์แวร์ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อใช้ในข่ายงานในระหว่างกลุ่มบุคคลที่ทำงานร่วมกัน แทนที่จะเป็นผู้ใช้เพียงคนเดียว

 

3. ซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

          
ในยุคปัจจุบันการดำเนินกิจการธุรกิจขนาดเล็กมีมากขึ้น ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จึงเจาะกลุ่มเป้าหมายธุรกิจขนาดเล็กโดยตรง โดยผลิตซอฟต์แวร์ในรูปโปรแกรมสำเร็จรูป ที่เรียกว่า Small Office Home Office หรือ SOHO ซึ่งมักจะเป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้บนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ และมีราคาไม่แพงมากนัก ซึ่งซอฟต์แวร์ดังกล่าวสามารถช่วยงานธุรกิจขนาดเล็กได้หลายๆ ด้าน เช่น

1. งานด้านบัญชี (Accounting) ธุรกิจทุกประเภทจะต้องเกี่ยวข้องกับงานด้านบัญชี ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่หรือเล็กถึง จะมีพนักงานเพียงสอง ก็จะต้องมีการใช้ โปรแกรมแผ่นตารางทำการ (Spreadsheet Program) ที่ช่วยในการทำใบสั่งซื้อและคำนวณเงินเดือน เป็นต้น ดังนั้นโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชีสามารถจะอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานด้านบัญชีทั้งหมด เช่น งบกำไร-ขาดทุน งบดุล การคำนวณภาษี เป็นต้น

 

2. งานเอกสารและโฆษณา (Writing and Advertising) โปรแกรมการประมวลผลคำหรือเวิร์ดโปรเซสซิ่ง (Word Processing ) หรือคือ โปรแกรมการจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Publishing Program) สามารถช่วยสร้างสื่อโฆษณาได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้โปรแกรมว่าจะทำการเลือกใช้โปรแกรมใด ซึ่งการออกแบบตัวอักษร สี และรูปภาพของสื่อโฆษณาจะดึงดูดผู้พบเห็นมากที่สุด โปรแกรมการจัดพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะจะมีความสามารถด้านนี้มากกว่าเวิร์ดโปรเซสซิ่งทั่วไป จึงเห็นว่าการทำสื่อโฆษณานั้นจำเป็นสำหรับธุรกิจเกือบทุกประเภท

 

3. งานด้านบริการลูกค้า (Customer Service) การให้บริการลูกค้าถือว่าเป็นงานสำคัญของธุรกิจต่าง ๆ และจะต้องทำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งโปรแกรมการจัดการฐานข้อมูล (Database Management Program) สามารถช่วยทำให้การบริการลูกค้าทำได้สะดวกและมีประสิทธิภาพ โดยทำการเก็บข้อมูลลูกค้า เช่น ประวัติ อัตราเงินเดือน ความพอใจในการซื้อสิ้นค้า เป็นต้น และเมื่อต้องการสอบถามข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับลูกค้าก็สามารถทำได้สะดวกและรวดเร็ว

 

4. การติดตามงานและการทำสัญญา (Keeping Up and Making Contacts) ถ้ามีคอมพิวเตอร์นำไปเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายต่างๆ จะช่วยทำให้การติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานหรือบุคคลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นใน
องค์กรธุรกิจจึงนิยมที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการติดต่อและแลกเปลี่ยนข่าวสารทางธุรกิจ อาทิเช่น การทำสัญญาผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ และการประชุมทางไกล ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต (ซึ่งค่าใช้จ่ายและค่าเสียโอกาสรวมแล้วอาจถูกกว่าการเดินทางมาประชุมพร้อมกัน) เป็นต้น

 

5. การเพิ่มช่องทางการขาย (Making Sales Pitches) ธุรกิจต่างๆ จะดำรงอยู่ได้ขึ้นอยู่กับการขายสินค้าและบริการ โปรแกรมต่างๆ ที่จะช่วยเพิ่มยอดขายสินค้านั้นมีหลายโปรแกรม แต่เป็นการช่วยทางอ้อมมากกว่า เช่น โปรแกรมช่วยนำเสนอผลงาน (สินค้า) ซึ่งจะช่วยดึงดูดลูกค้าให้ลูกค้าสนใจในตัวสินค้าและบริการได้มากกว่าการนำเสนอแบบเดิม โดยโปรแกรมจัดเตรียมเอกสารจะแสดงในรูปของ สไลด์อิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานง่าย ในการจัดข้อความและรูปภาพลงในสไลด์ โดยโปรแกรม PowerPoint เป็นต้น

 

4. บุคลากรทางคอมพิวเตอร์

          
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการพัฒนาและการใช้ซอฟต์แวร์ นั้นนอกเหนือจากผู้ใช้ปลายทาง (End User) ที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา และการใช้ซอฟต์แวร์ โดยตามปกติแล้วในหน่วยงานที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใช้ทุกๆ หน่วยงาน หน่วยงานที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ อาจมีชื่อเรียกต่างๆ กันเช่น แผนกสารสนเทศ เพื่อการจัดการ (Management Information System : MIS) แผนกคอมพิวเตอร์สารสนเทศ (Computer Information Systems) แผนกบริการคอมพิวเตอร์ (Computing Services) แผนกบริการสารสนเทศ (Information Service) หรือศูนย์สารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Center : MIC) เป็นต้น ซึ่งแต่ละแผนกเหล่านี้ จะทำหน้าที่ ควบคุมดูแลและรับผิดชอบอุปกรณ์ ดูแลรักษาข้อมูล และพัฒนาหรือสรรหาระบบงานคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับการต่างๆ ในหน่วยงานเหล่านี้จะมีบุคลากรที่เกี่ยวข้องคือ

1. พนักงานบันทึกข้อมูล (Data Entry Operator)
           
ทำหน้าที่เตรียมข้อมูลเพื่อส่งไปประมวลผล โดยทำการจัดเตรียมข้อมูลอยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถนำไปประมวลผลได้ทันที

 

2. พนักงานปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (Computer Opertor)
          
มีหน้าที่ดูแลและควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ เช่น จอภาพ เครื่องพิมพ์และขบวนการทำงานต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานไปได้อย่างต่อเนื่อง

 

3. พนักงานคลังข้อมูล (Librarians)
            
ทำหน้าที่ดูแลการจัดเก็บข้อมูลลงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล เช่น แผ่นดิสก์เก็ต เทปแม่เหล็ก และอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อรักษาข้อมูล และรักษาความปลอดภัยของข้อมูล

 

4. นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer Programmer)
           
หรือเรียกว่า โปรแกรมเมอร์ (Programmer) ทำหน้าที่เขียนโปรแกรม ทดสอบโปรแกรม นำโปรแกรมไปทดลองใช้งานจริงกับระบบงานนั้นๆ รวมทั้งดูแลรักษาโปรแกรม ตลอดจนการใช้งานและปรับปรุงโปรแกรมให้มีความทันสมัยตลอดเวลา ทั้งนี้โปรแกรมเมอร์ที่มี ประสบการณ์อาจทำหน้าที่ในการออกแบบโปรแกรมด้วย

 

5. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
           
มีหน้าที่วางแผน ออกแบบและวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์ระบบจะทำงานร่วมกับผู้ใช้งาน และโปรแกรมเมอร์ โดยการสอบถามความต้องการ ของผู้ใช้งานว่าต้องการโปรแกรมหรือระบบงานคอมพิวเตอร์ในลักษณะใด จากนั้นนักวิเคราะห์ระบบงานจะทำการวิเคราะห์ และออกแบบระบบงานคอมพิวเตอร์ ให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อมอบให้โปรแกรมเมอร์ทำการเขียนโปรแกรมเพื่อนำมาพัฒนาเป็นระบบงานต่อไป นักวิเคราะห์ระบบที่ดีควรจะต้อง มีความรู้พื้นฐานในการเขียนโปรแกรมด้วย

 

6. ผู้บริหารข่ายงาน (Network Manager or Network Administrator)
           
บุคคลที่ทำหน้าที่ ควบคุม รับผิดชอบ ดูแล และบำรุงรักษาอุปกรณ์และโปรแกรมต่างๆ ในระบบข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ (LAN) สำหรับระบบเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือมินิคอมพิวเตอร์จะเรียกว่า ผู้บริหารระบบ (System Administrator)

 

7. หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศหรือซีไอโอ (Chief Information Officer : CIO )
          
ทำหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ทั้งหมดภายในองค์กร และควบคุมพนักงาน ซึ่งบุคคลที่จะทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายสารสนเทศนั้นจะต้องมีลักษณะความเป็นผู้นำ มีความรับผิดชอบ เข้าใจวัตถุประสงค์ขององค์กรและพร้อมที่จะประยุกต์คอมพิวเตอร์เพื่อนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


บทที่ 3
หน่วยประมวลผลกลาง
THE CENTRAL PROCESSING UNIT

หน่วยประมวลผลกลาง

          
หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู (The Central Processing Unit : CPU) คือชุดแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุด ที่เปรียบได้กับสมองของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่ ประมวลผลชุดคำสั่ง และควบคุมการทำงานของหน่วยต่างๆ ให้ทำงานประสานสอดคล้องกัน

=

The Central Processing Unit : CPU

 

สมองของคอมพิวเตอร์

 


ชิป (Chip)

          
ชิป (Chip) อาจเรียกว่าไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)

ชิปประกอบไปด้วย
1.
หน่วยควบคุม (Control Unit) ประกอบด้วยแผงวงจรที่ใช้
สัญญาณไฟฟ้า ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้รับ ส่ง ประมวลผลและจัดเก็บข้อมูล โดยประสานงานกันอย่างระบบ
2.
หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logic Unit) ทำหน้าที่ประมวลผลด้วยวิธีการคำนวณทาง คณิตศาสตร์หรือวิธีทางตรรกศาสตร์

 

หน่วยคำนวณและตรรกะ

         
หน่วยคำนวณและตรรกะหรือเอแอลยู (Arithmetic and Logic Unit : ALU) ทำหน้าที่ ประมวลผลด้วย วิธีการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือวิธีทางตรรกศาสตร์ กล่าวคือ ทำหน้าที่ทาง

1.
วิธีการทางคณิตศาสตร์หรือการดำเนินการคำนวณ (Arithmetic Operation) โดยวิธี คูณ หาร บวก ลบ และยกกำลัง
2.
วิธีทางตรรกะศาสตร์หรือการดำเนินการตรรกะ (Logical Operation) หรือการทำการเปรียบเทียบ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้ ทั้งตัวเลข, ตัวอักษร และสัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ

 

เรจิสเตอร์

         
เรจิสเตอร์ (Register) เป็นตำแหน่งของหน่วยความจำชั่วคราว ที่อยู่ในไมโครโพรเซสเซอร์ ที่ใช้ในการเก็บค่าต่างๆ และเลขที่อยู่ของหน่วยความจำภายนอก ในขณะที่ไมโครโพรเซสเซอร์ทำงานด้านตรรกะ และการคิดคำนวณ หน่วยความจำชั่วคราวนี้ จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลชั่วคราว หรือส่งผ่านข้อมูลอย่างรวดเร็ว
         
เรจิสเตอร์มีหลายชนิดแบ่งตามลักษณะการทำงาน เช่น
-
ตัวสะสมหรือแอคคิวมูเลเตอร์ (Accumulator)
          
เป็นเรจิสเตอร์ที่อยู่ในหน่วยคำนวณ และตรรกะของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อ ใช้สำหรับเก็บเป็นตัวตั้ง หรือเก็บเป็นผลลัพธ์ ที่ได้จากการคำนวณ
-
เรจิสเตอร์เลขที่อยู่ (Address Register)
          
เป็นเรจิสเตอร์ที่ทำหน้าที่เก็บค่าเพื่อ บอกเลขที่อยู่และเป็นตัวชี้ไปยัง หน่วยความจำหรือเรจิสเตอร์ต่างๆ

 

หน่วยจัดเก็บข้อมูล

          
หน่วยจัดเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์มี 2 ประเภท
1.หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2.
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บรอง (Secondary Storage or Auxiliary Storage)
          
หน่วยความจำทั้งสองชนิด ไม่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของซีพียู

หน่วยความจำหลัก
          
หน่วยความจำหลัก มีชื่อเรียกหลายชื่อเช่น Main Memory Primary Storage Primary Memory Main Storage Internal Storage หน่วยความจำหลักจะมีลักษณะของการเข้าถึงการทำงาน หรือข้อมูลได้โดยตรงและรวดเร็วโดยวิธีสุ่ม = หน่วยความจำเข้าถึงโดยสุ่ม หรือแรม (Random Access Memory : RAM) แรมเป็นหน่วยความจำที่ สามารถอ่าน และบันทึกข้อมูลได้

          รอม (Read Only memory : ROM) หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ซึ่งเก็บคำสั่งไว้อย่างถาวร และยังมีคำสั่งเหล่านั้น เก็บอยู่ตลอดเวลา แม้ว่าไฟจะดับหรือปิดเครื่องแล้วก็ตาม
          
หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ชนิดโปรแกรมได้ หรือพร็อม (Programmable Read Only Memory : PROM) สามารถเปลี่ยนแปลงโดย เขียนโปรแกรมบันทึกไปใหม่ได้ แต่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หน่วยความจำอ่านอย่างเดียว ชนิดโปรแกรม และลบได้ หรือ อีพร็อม ( Erasable Programmable Read Only Memory : EPROM) เป็บชิปที่มีคุณสมบัติเหมือนพร็อม แต่สามารถโปรแกรม และลบทิ้ง และโปรแกรมใหม่ได้หลายครั้ง โดยยังคงคุณสมบัติของรอมไว้อยู่ คือสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ อย่างถาวร

 

การประมวลผลชุดคำสั่งของซีพียู

          
วัฏจักรการทำงานของซีพียู แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนคือ
1.
การไปนำมา (Fetch) เป็นการที่หน่วยควบคุมไปนำคำสั่งที่ต้องการ การประมวลผลมาจากหน่วยความจำ
2.
การถอดรหัส (Decode) คือการที่หน่วยควบคุมแปลความหมาย ของคำสั่งนั้นพร้อมดึงข้อมูลที่จำเป็น เพื่อส่งต่อให้หน่วย คำนวณและตรรกะ
3.
กระทำการ (Execute) คือการที่หน่วยคำนวณและ ตรรกะทำหน้าที่ประมวลผล ด้วยวิธีการคำนวณคณิตศาสตร์ หรือวิธีทางตรรกศาสตร์ ตามคำสั่งที่ส่งมา
4.
เก็บ (Store) หมายถึงการที่หน่วยคำนวณและตรรกะ เก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลส่งไปไว้ที่หน่วย ความจำหรือเรจิสเตอร์

 

การแทนข้อมูล

         
คอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องจักรกลทางไฟฟ้าจะรับรู้สภาวะเพียง 2 สถานะเท่านั้นคือ คือเปิด (On) ซึ่งแทนการมีกระแสไฟฟ้า ไหลเข้า และปิด (Off) ซึ่งแทนการไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า
         
เราใช้เลข 0 ในการอ้างถึงสภาวะปิด และใช้เลข 1 แทนภาวะเปิด และเลข 0 หรือ 1 นั้นเองจะถูกเรียกว่าบิต (Bit) คำว่า Bit ย่อมาก Binary Digit หมายถึง หน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุด ในระบบคอมพิวเตอร์
          
การใช้บิตหลายๆ บิตรวมกันเป็นกลุ่ม ที่เรียกว่าไบต์ (Byte) โดยที่ 1 ไบต์จะหมายถึงข้อมูล 1 ตัว ซึ่งจะใช้แทนตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ (เช่น / , *, + ) ก็ได้
          
หน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ มักจะวัดเป็นไบต์ คือจำได้กี่ตัวอักษรในสื่อนั้นๆ
ดังนั้นเราจะเห็นค่าต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์ว่ามีดังตัวอย่านี้

1 KB มาจากค่า

1,024 Bytes

เท่ากับ

1 MB มาจากค่า

1,048,576 Bytes

เท่ากับ

1 GB มาจากค่า

1,073,741,824 Bytes

เท่ากับ

1 TB มาจากค่า

1,099,511,627,776 Bytes

เท่ากับ


    
ซึ่งอักขระเติมหน้า (Prefix Character) ดังกล่าวได้มาจากภาษาละติน ซึ่งที่นิยมในระบบคอมพิวเตอร์มีดังนี้

อักขระเติมหน้า (Prefix Character) ที่นิยมในระบบคอมพิวเตอร์

อักษรย่อ

มาจาก

หมายถึง

เท่ากับค่า

เขียนแทนด้วย

K

Kilo

Thounsand

 1,000

 

M

Mega

Million

 1,000,000

 

G

Giga

Billion

 1,000,000,000

 

T

Tera

Trillion

 1,000,000,000,000

 

P

Peta

Quadrillion

 1,000,000,000,000,000

 

E

Exa

Quintillion

 1,000,000,000,000,000,000

 

B

Bronto

Sextillion

 1,000,000,000,000,000,000,000

 

          เปรียบเทียบการรวมกลุ่มของบิตต่อไปนี้ว่าการรวมตัวของบิตนั้น สามารถอ้างถึง ข้อมูลได้มากเท่าใด

การรวมกลุ่มของบิตที่สามารถอ้างถึงข้อมูลได้

บิตที่รวมกัน

อ้างถึงข้อมูลได้

ตัวอย่าง

1

     = 2 ตัว

0 , 1

2

     = 4 ตัว

00 ,01,10,11

3

     = 8 ตัว

000 ,001,…,110,111

4

     = 16 ตัว

0000 ,0001,0010,…,1110,1111

5

     = 32 ตัว

00000 ,00001,00010,…,11110,11111

6

     = 64 ตัว

000000 ,000001,000010,…,111110,111111

7

     = 128 ตัว

0000000 ,0000001,0000010,…,1111110,1111111

8

     = 256 ตัว

00000000 ,00000001,00000010,…,11111110,11111111

           แต่ในระบบคอมพิวเตอร์วิวัฒนาการของการใช้การรวมกลุ่มของบิตเริ่มจาก จาก 6 บิตเป็น 1 ไบต์ (BCD Code) 7 บิตเป็น 1 ไบต์ (ASCII Code) และในปัจจุบันจะใช้ 8 บิตเป็น 1 ไบต์ (Extened ASCII Code and ANSI Code) และเริ่มจะมีการใช้ 16 บิตเป็น 1 ไบต์ (Unicode) ในปัจจุบัน โดยเหตุผลและรายละเอียดของการรวมกลุ่มของบิตแต่ละขนาดมีรายละเอียดดังนี้

1. Binary Coded Decimal (BCD) หรือเลขฐานสิบเข้ารหัส ฐานสอง (บีซีดี)
2. American Standard Code for Information Interchange (ASCII)
หรือรหัสมาตรฐานของ สหรัฐอเมริกา เพื่อการแลกเปลี่ยน สารสนเทศ (แอสกี)
3. Extended ASCII Code
หรือ ASCII-8 หรือรหัสแอสกีที่ ถูกเพิ่ม
4. Extended Binary Coded Decimal Interchange Code (EBCDIC)
หรือรหัสสับเปลี่ยนเลขฐานสิบเข้ารหัสฐานสองแบบ ขยาย (เอบซีดิก)
5. Unicode
หรือรหัสเดียว

แสดงตัวอย่างการแทนรหัสของ รหัส ASCII-8 และ EBCDIC Code

Character

ASCII-8

EBCDIC

Character

ASCII-8

EBCDIC

Character

ASCII-8

EBCDIC

A

0100  0001

1100  0001

O

0100  1111

1101  0110

2

0011  0010

1111  0010

B

0100  0010

1100  0010

P

0101  0000

1101  0111

3

0011  0011

1111  0011

C

0100  0011 

1100  0011

Q

0101  0001

1101  1000

4

0011  0100

1111  0100

D

0100  0100

1100  0100

R

0101  0010

1101  1001

5

0011  0101

1111  0101

E

0100  0101

1100  0101

S

0101  0011

1110  0010

6

0011  0110

1111  0110

F

0100  0110

1100  0110

T

0101  0100

1110  0011

7

0011  0111

1111  0111

G

0100  0111

1100  0111

U

0101  0101

1110  0100

8

0011  1000

1111  1000

H

0100  1000

1100  1000

V

0101  0110

1110  0101

9

0011  1001

1111  1001

I

0100  1001

1100  1001

W

0101  0111

1110  0110

!

0010   0001

0101  1010

J

0100  1010

1101  0001

X

0101  1000

1110  0111

“

0010  0010

0111  1111

K

0100  1011

1101  0010

Y

0101  1001

1110  1000

#

0010  0011

0111  1011

L

0100  1100

1101  0011

Z

0101  1010

1110  1001

$

0010  0100

0101  1011

M

0100  1110

1101  0100

0

0011  0000

1111  0000

%

0010  0101

0110  1100

N

0100  1111

1101  0101

1

0011  0001

1111  0001

&

0010  0110

0101  0000

 

ความเร็วในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์

1. จำนวนคำสั่งต่อวินาที (Instructions per Section) หน่วยวัดในปัจจุบันจะเป็น MIPS (Million Instrucions Per Seconds)

2. ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการคำนวนคณิตศาสตร์มีหน่วยวัดเป็น เมกะฟล็อป (Megoflop : Million Floating-point Operations per Second) หรือล้านจุดลอยตัวต่อวินาที

3. ความเร็วของไมโครโพรเซสเซอร์ที่วัดจากรอบของเครื่อง (Machine Cycle) โดยมีหน่วยเป็นในอัตราความเร็วเป็น รอบต่อวินาที (Hertz) ซึ่งส่วมมากจะวัดเป็นล้านรอบต่อวินาที (Mega Hertz : MHz )

 

การเพิ่มความเร็วในการประมวลผล

-
ความยาวคำ (Word Length)
-
สายบัส (Bus Line) หมายถึงชุดของเส้นทางเดินอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ภายในระบบคอมพิวเตอร์ จำนวนข้อมูลที่สามารถส่งได้ในแค่ละครั้ง เราเรียกว่าความกว้างบัส (Bus Width)

- เทคโนโลยีริสก์ (RISC) ริกส์ (RISC : Reduced Instruction Set Computers) เป็นแนวความคิดทาง สถาปัตยกรรม ไมโครโพรเซสเซอร์ ที่ต้องการลดชุดคำสั่งให้เหลือจำนวนน้อยที่สุด
-
หน่วยความจำแคช (Cache Memory) เป็นส่วนของหน่วยความจำ ในคอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นพื้นที่ในการเก็บ (Storage Area) ข้อมูลหรือคำสั่งของโปรแกรมที่ใช้บ่อยๆ
-
หน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) หน่วยความจำแฟลช (Flash Memory) เป็นหน่วยความจำชนิด อ่านอย่างเดียว (Nonvolatile Memory) ที่นำมาใช้แทนดิสก์ ในคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก

- การประมวลผลแบบขนาน (Parallel Processing) จะมีลักษณะ การทำงานแบบสายท่อ (Pipeline) ซึ่งเป็นการออกแบบ ระบบคอมพิวเตอร์โดย การรวมสาย (Line) ในไมโครคอมพิวเตอร์เพื่อ เพิ่มความเร็วในการประมวลผลคำสั่งต่างๆ